ระบุชื่อเว็บไซต์ให้กับ Google Search

เมื่อ Google แสดงหน้าหนึ่งๆ ในผลการค้นหา จะแสดงชื่อของเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งที่มาของหน้าดังกล่าว ฟีเจอร์นี้เรียกว่าชื่อเว็บไซต์ Google ใช้แหล่งที่มาหลายๆ แห่งในการระบุชื่อเว็บไซต์โดยอัตโนมัติ และคุณสามารถกำหนดชื่อที่ต้องการได้โดยเพิ่ม Structured Data WebSite โปรดทราบว่าชื่อเว็บไซต์แตกต่างกับลิงก์ Title ในแต่ละหน้า (ลิงก์ Title เป็นลิงก์เฉพาะสำหรับแต่ละหน้าเว็บ แต่ชื่อเว็บไซต์จะใช้กับทั้งเว็บไซต์)

ชื่อเว็บไซต์ในผลการค้นหาของ Google

ความพร้อมใช้งานของฟีเจอร์

ชื่อเว็บไซต์จะปรากฏในผลการค้นหาของ Google Search ดังนี้

  • สําหรับการค้นหาในภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และญี่ปุ่น
  • สําหรับเว็บไซต์ระดับโดเมน ทั้งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และเดสก์ท็อป
  • สําหรับเว็บไซต์ระดับโดเมนย่อยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

วิธีสร้างชื่อเว็บไซต์ใน Google Search

การสร้างชื่อเว็บไซต์ของ Google ในหน้าผลการค้นหาของ Google จะเป็นแบบอัตโนมัติทั้งหมด โดยคํานึงถึงทั้งเนื้อหาของเว็บไซต์และการอ้างอิงเว็บไซต์ซึ่งปรากฏในเว็บ เป้าหมายของการใช้ชื่อเว็บไซต์คือเพื่อนำเสนอและอธิบายแหล่งที่มาของผลการค้นหาแต่ละรายการให้ดีที่สุด

Google Search ใช้แหล่งที่มาหลายแห่งจากหน้าแรกของเว็บไซต์หนึ่งๆ เพื่อกำหนดชื่อเว็บไซต์โดยอัตโนมัติ ซึ่งรวมถึงรายการต่อไปนี้

  • WebSite structured data
  • เนื้อหาในองค์ประกอบ <title>
  • องค์ประกอบส่วนหัว เช่น องค์ประกอบ <h1>
  • og:site_name

แม้ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนชื่อเว็บไซต์แต่ละแห่งด้วยตนเองได้ แต่ก็มุ่งมั่นที่จะทำให้ชื่อเว็บไซต์เหล่านั้นมีความถูกต้องที่สุดอยู่เสมอ คุณช่วยปรับปรุงคุณภาพของชื่อเว็บไซต์ที่แสดงสำหรับหน้าเว็บของคุณได้ด้วยการเพิ่ม Structured Data WebSite

วิธีเพิ่ม Structured Data

Structured Data คือรูปแบบมาตรฐานในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน้าหนึ่งๆ และการจำแนกประเภทเนื้อหาของหน้า หากคุณเพิ่งใช้ Structured Data เป็นครั้งแรก โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของ Structured Data

ต่อไปนี้เป็นภาพรวมเกี่ยวกับวิธีสร้าง ทดสอบ และเผยแพร่ Structured Data ดูคำแนะนำทีละขั้นตอนเกี่ยวกับวิธีเพิ่ม Structured Data ลงในหน้าเว็บได้ใน Codelab สำหรับ Structured Data

  1. ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์
  2. เพิ่มพร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็นลงในหน้าแรกของเว็บไซต์ โดยอยู่ในรูปแบบ JSON-LD, RDFa หรือ Microdata คุณไม่ต้องใส่มาร์กอัปนี้ในทุกๆ หน้าของเว็บไซต์ เพียงแค่เพิ่มลงในหน้าแรกของเว็บไซต์เท่านั้น

    JSON-LD

    <html>
      <head>
        <title>Example: A Site about Examples</title>
        <script type="application/ld+json">
        {
          "@context" : "https://schema.org",
          "@type" : "WebSite",
          "name" : "Example",
          "url" : "https://example.com/"
        }
      </script>
      </head>
      <body>
      </body>
    </html>

    Microdata

    <html>
      <head>
        <title>Example: A Site about Examples</title>
      </head>
      <body>
      <div itemscope itemtype="https://schema.org/WebSite">
        <meta itemprop="url" content="https://example.com/"/>
        <meta itemprop="name" content="Example"/>
      </div>
      </body>
    </html>
            
  3. หากคุณต้องการระบุชื่อเว็บไซต์ที่เป็นเวอร์ชันทางเลือก (เช่น อักษรย่อหรือชื่อแบบย่อ) ก็ทำได้โดยเพิ่มพร็อพเพอร์ตี้ alternateName ซึ่งการดำเนินการนี้ไม่ได้บังคับแต่อย่างใด

    JSON-LD

    <html>
      <head>
        <title>Example: A Site about Examples</title>
        <script type="application/ld+json">
        {
          "@context" : "https://schema.org",
          "@type" : "WebSite",
          "name" : "Example Company",
          "alternateName" : "EC",
          "url" : "https://example.com/"
        }
      </script>
      </head>
      <body>
      </body>
    </html>

    Microdata

    <html>
      <head>
        <title>Example: A Site about Examples</title>
      </head>
      <body>
      <div itemscope itemtype="https://schema.org/WebSite">
        <meta itemprop="url" content="https://example.com/"/>
        <meta itemprop="name" content="Example Company"/>
        <meta itemprop="alternateName" content="EC"/>
      </div>
      </body>
    </html>
            
  4. ใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL เพื่อทดสอบว่า Google เห็นหน้าเว็บอย่างไร ตรวจสอบว่า Google เข้าถึงหน้าแรกได้ และไม่มีการบล็อกหน้าแรกด้วยไฟล์ robots.txt, noindex หรือข้อกำหนดให้เข้าสู่ระบบ หากหน้าเว็บดูถูกต้องดีแล้ว ก็ขอให้ Google ทำการ Crawl URL อีกครั้งได้

หลักเกณฑ์

เพื่อช่วยให้ Google เข้าใจชื่อเว็บไซต์ของคุณได้ดียิ่งขึ้น โปรดตรวจสอบว่าคุณได้ทำตาม Search Essentials, หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับ Structured Data รวมถึงหลักเกณฑ์ทางเทคนิคและเนื้อหาดังต่อไปนี้

หลักเกณฑ์ทางเทคนิค

  • ปัจจุบัน Google Search รองรับชื่อเว็บไซต์ 1 ชื่อต่อเว็บไซต์ โดยที่เว็บไซต์จะกำหนดโดยโดเมนหรือโดเมนย่อย Google Search ไม่รองรับชื่อเว็บไซต์ในระดับไดเรกทอรีย่อย โปรดทราบว่าโดยทั่วไปแล้ว ชื่อโดเมนย่อยที่ขึ้นต้นด้วย www หรือ m จะถือว่าเทียบเท่ากัน
    รองรับ: https://example.com (ถือเป็นหน้าแรกระดับโดเมน)
    รองรับ: https://www.example.com (ถือเป็นหน้าแรกระดับโดเมนด้วย)
    รองรับ: https://m.example.com (ถือเป็นหน้าแรกระดับโดเมนด้วย)
    รองรับ: https://news.example.com (ถือเป็นหน้าแรกระดับโดเมนย่อย)
    ไม่รองรับ: https://example.com/news (ถือเป็นหน้าแรกระดับไดเรกทอรีย่อย)
  • Structured Data WebSite ต้องอยู่ในหน้าแรกของเว็บไซต์ หน้าแรกในที่นี้หมายถึง URI รากที่ระดับโดเมนหรือโดเมนย่อย ตัวอย่างเช่น https://example.com เป็นหน้าแรกของโดเมน ส่วน https://example.com/de/index.html ไม่ใช่หน้าแรก หมายเหตุ: หากไม่มี Structured Data ในหน้าแรกของโดเมนย่อย ระบบอาจใช้ชื่อเว็บไซต์ระดับโดเมนสําหรับโดเมนย่อยนั้นเป็นชื่อสํารอง
  • Google ต้องทำการ Crawl หน้าแรกได้ (กล่าวคือ จะบล็อกหน้าแรกจากการเข้าถึงของ Google ไม่ได้) หากเราไม่มีสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาในหน้าแรก ก็จะสร้างชื่อเว็บไซต์ไม่ได้
  • หากคุณมีหน้าแรกที่มีเนื้อหาเหมือนกันมากกว่า 1 หน้า (เช่น เวอร์ชัน HTTP และ HTTPS ของหน้าแรก หรือเวอร์ชันที่มี www และไม่มี www) ให้ตรวจสอบว่าคุณใช้ Structured Data เดียวกันในหน้าที่ซ้ำกันนั้นทุกหน้า ไม่ใช่แค่ในหน้า Canonical
  • หากคุณใช้งาน Structured Data WebSite กับฟีเจอร์ช่องค้นหาไซต์ลิงก์อยู่แล้ว ให้ตรวจดูว่าได้ฝังพร็อพเพอร์ตี้ชื่อเว็บไซต์ไว้ในโหนดเดียวกัน กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ให้หลีกเลี่ยงการสร้างแถว Structured Data WebSite เพิ่มเติมในหน้าแรก หากคุณทำได้ ตัวอย่างเช่น Structured Data WebSite สำหรับทั้งชื่อเว็บไซต์และช่องค้นหาไซต์ลิงก์ควรจะมีลักษณะดังนี้
    <html>
      <head>
        <title>Example: A Site about Examples</title>
        <script type="application/ld+json">
        {
          "@context" : "https://schema.org",
          "@type" : "WebSite",
          "name" : "Example Company",
          "alternateName" : "EC",
          "url" : "https://example.com/",
          "potentialAction": {
            "@type": "SearchAction",
            "target": {
              "@type": "EntryPoint",
              "urlTemplate": "https://query.example.com/search?q={search_term_string}"
            },
            "query-input": "required name=search_term_string"
          }
        }
      </script>
      </head>
      <body>
      </body>
    </html>

หลักเกณฑ์เนื้อหา

  • เลือกชื่อที่ไม่ซ้ำกันซึ่งแสดงถึงตัวตนของเว็บไซต์ได้อย่างถูกต้อง อย่าเลือกชื่อที่เว็บไซต์อื่นนำไปใช้แล้ว เนื่องจากอาจทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดได้ ชื่อที่คุณเลือกต้องเป็นไปตามนโยบายเนื้อหาของ Search
  • ใช้ชื่อที่สั้นและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปสำหรับเว็บไซต์ (เช่น "Google" แทนที่จะเป็น "Google, Inc") แม้จะไม่มีการจำกัดความยาวของชื่อเว็บไซต์ แต่อุปกรณ์บางรุ่นอาจตัดชื่อของเว็บไซต์ที่ยาวให้สั้นลง หากคุณมีชื่ออื่นที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คุณสามารถใช้พร็อพเพอร์ตี้ alternateName เพื่อระบุชื่อนั้น (เช่น อักษรย่อ)
  • ใช้ชื่อเว็บไซต์อย่างสอดคล้องกันในหน้าแรก ชื่อใดก็ตามที่คุณใช้เป็นชื่อเว็บไซต์ใน Structured Data ควรสอดคล้องกับชื่อที่ใช้ในหน้าแรก องค์ประกอบ <title> และแหล่งที่มาอื่นๆ ที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่ง Google อาจดึงชื่อดังกล่าวมาใช้เป็นชื่อเว็บไซต์

คำจำกัดความของประเภทข้อมูลที่มีโครงสร้าง

หากต้องการแจ้งชื่อที่อยากให้ใช้เป็นชื่อเว็บไซต์แก่ Google ให้ใส่พร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็นในหน้าแรกของเว็บไซต์

WebSite

ดูคำจำกัดความที่สมบูรณ์ของ WebSite ได้ที่ schema.org/WebSite ตารางต่อไปนี้แสดงรายละเอียดพร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็นและที่แนะนำซึ่ง Google รองรับ

พร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็น
name

Text

ชื่อของเว็บไซต์ ตรวจสอบว่าชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์เนื้อหา

url

URL

URL หน้าแรกของเว็บไซต์ ตั้งค่า URL นี้เป็นหน้าแรกของหน้า Canonical ของโดเมนหรือโดเมนย่อยของเว็บไซต์ เช่น https://example.com/ หรือ https://news.example.com/

พร็อพเพอร์ตี้ที่แนะนำ
alternateName

Text

ชื่อทางเลือกของเว็บไซต์ (เช่น อักษรย่อที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือชื่อเว็บไซต์แบบสั้น) หากมี ตรวจสอบว่าชื่อเป็นไปตามหลักเกณฑ์เนื้อหา

การแก้ปัญหาที่พบได้ทั่วไป

ต่อไปนี้คือปัญหาที่พบบ่อยที่สุดว่าเกิดกับชื่อเว็บไซต์ในผลการค้นหา

ปัญหาที่พบได้ทั่วไป

ชื่อเว็บไซต์ไม่ถูกต้องหรือมีรูปแบบไม่ถูกต้อง

เช่น "Andorid" แทนที่จะเป็น "Android"

ตรวจสอบว่าชื่อเว็บไซต์ที่ระบุในมาร์กอัปในหน้าแรกเป็นชื่อที่ต้องการให้ใช้สำหรับเว็บไซต์ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ตรวจสอบว่าแหล่งที่มาอื่นๆ ในหน้าแรกใช้ชื่อที่คุณต้องการสำหรับเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน

หากคุณมีเว็บไซต์หลายเวอร์ชัน เช่น มีเวอร์ชัน HTTP และ HTTPS ให้ตรวจสอบว่าได้ใช้ชื่อเว็บไซต์เดียวกันทั้งสองเวอร์ชัน

URL แสดงขึ้นแทนชื่อเว็บไซต์

เช่น "android.com" หรือ "news.android.com" ไม่ใช่ "Android"

หาก Search ระบุชื่อเว็บไซต์โดยอิงตามข้อมูลเมตาและสัญญาณอื่นๆ ของหน้าแรกอย่างมั่นใจไม่ได้ ระบบอาจแสดง URL แบบย่อแทน ตรวจสอบโดยละเอียดว่าชื่อเว็บไซต์เป็นไปตามหลักเกณฑ์เนื้อหา และมีการใช้งานกับ Structured Data อย่างถูกต้อง

ผลการค้นหาเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าอื่น

หากหน้าเว็บเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าที่ Googlebot มองเห็น ชื่อเว็บไซต์จะแสดงถึงเป้าหมายการเปลี่ยนเส้นทาง หากหน้าเว็บเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าที่ Googlebot มองไม่เห็น ชื่อเว็บไซต์จะแสดงถึงชื่อของหน้าต้นทาง

ตรวจสอบว่าการเปลี่ยนเส้นทางเป็นไปตามที่ต้องการ และ Googlebot เข้าถึงหน้าเป้าหมายการเปลี่ยนเส้นทางได้ จากนั้นส่งคำขอให้ทำการ Crawl หน้านั้นอีกครั้ง

การแก้ปัญหา Structured Data

หากประสบปัญหาในการใช้งานหรือแก้ไขข้อบกพร่องของ Structured Data โปรดดูแหล่งข้อมูลต่อไปนี้ซึ่งอาจช่วยคุณได้

หากลองทําตามขั้นตอนการแก้ปัญหาข้างต้นแล้วแต่ยังคงพบปัญหาอยู่ โปรดโพสต์คําถามในชุมชนความช่วยเหลือของ Google Search Central ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งที่น่าจะต้องปรับปรุงในระบบของเรา