หลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับ Structured Data

Structured Data ต้องไม่ละเมิดนโยบายเนื้อหาสําหรับ Google Search (ซึ่งรวมถึงนโยบายสแปม) เพื่อให้มีสิทธิ์แสดงเป็นผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียใน Google Search นอกจากนี้ หน้านี้ยังมีหลักเกณฑ์ทั่วไปที่ใช้บังคับกับ Structured Data ทั้งหมดด้วย โดยคุณต้องทําตามหลักเกณฑ์เพื่อให้มีสิทธิ์ปรากฏเป็นผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียใน Google Search

หากหน้าเว็บมีปัญหาเกี่ยวกับ Structured Data อาจส่งผลให้มีการดําเนินการโดยเจ้าหน้าที่ การดําเนินการโดยเจ้าหน้าที่กับ Structured Data หมายความว่าหน้าเว็บจะเสียสิทธิ์ปรากฏเป็นผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดีย แต่จะไม่ส่งผลต่อการจัดอันดับหน้าเว็บใน Google Web Search หากต้องการตรวจสอบว่าหน้าเว็บมีการดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่หรือไม่ ให้เปิดรายงานการดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ใน Search Console

หลักเกณฑ์ทางเทคนิค

คุณทดสอบได้ว่าเนื้อหาเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางเทคนิคหรือไม่โดยใช้การทดสอบผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียและเครื่องมือตรวจสอบ URL ซึ่งจะตรวจพบข้อผิดพลาดทางเทคนิคส่วนใหญ่ได้

รูปแบบ

หากต้องการมีสิทธิ์แสดงเนื้อหาในผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดีย ให้มาร์กอัปหน้าของเว็บไซต์โดยใช้ 1 ในรูปแบบที่เรารองรับ 3 รูปแบบดังนี้

  • JSON-LD (แนะนำ)
  • Microdata
  • RDFa

การเข้าถึง

อย่าบล็อก Googlebot ไม่ให้เข้าถึงหน้า Structured Data โดยใช้ robots.txt, แท็ก noindex หรือวิธีการอื่นๆ ที่ใช้ควบคุมการเข้าถึง

หลักเกณฑ์ด้านคุณภาพ

เครื่องมืออัตโนมัติจะตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพเหล่านี้ได้ยาก การละเมิดหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพอาจป้องกัน Structured Data ที่ถูกหลักไวยากรณ์ไม่ให้แสดงเป็นผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียใน Google Search หรืออาจทำให้ข้อมูลดังกล่าวถูกระบุว่าเป็นสแปม

เนื้อหา

  • ปฏิบัติตามนโยบายสแปมสําหรับ Google Web Search
  • ใส่ข้อมูลที่อัปเดต เราจะไม่แสดงผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียสำหรับเนื้อหาที่มีเวลาเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับปัจจุบันอีกต่อไป
  • ใส่เนื้อหาต้นฉบับที่คุณหรือผู้ใช้ของคุณได้สร้างไว้
  • อย่ามาร์กอัปเนื้อหาที่ไม่ปรากฏต่อผู้อ่านของหน้านั้น เช่น หากมาร์กอัป JSON-LD อธิบายถึงนักแสดงคนหนึ่ง ส่วนเนื้อหาของ HTML ต้องอธิบายถึงนักแสดงคนเดียวกัน
  • อย่ามาร์กอัปเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องหรือทำให้เข้าใจผิด เช่น รีวิวปลอมหรือเนื้อหาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นหลักของหน้า
  • อย่าใช้ Structured Data เพื่อหลอกลวงหรือทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิด อย่าแอบอ้างบุคคลหรือองค์กรอื่น หรือสื่อให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของ แอฟฟิลิเอต หรือวัตถุประสงค์หลัก
  • เนื้อหาใน Structured Data ยังต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือนโยบายเนื้อหาเพิ่มเติมตามที่ระบุไว้ในคู่มือพิเศษด้วย ตัวอย่างเช่น เนื้อหาใน Structured Data JobPosting ต้องเป็นไปตามนโยบายเนื้อหาของประกาศรับสมัครงาน เนื้อหาใน Structured Data ของแบบฝึกหัดแก้ปัญหาต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์เนื้อหาของแบบฝึกหัดแก้ปัญหา

ความเกี่ยวข้อง

Structured Data ต้องเป็นตัวแทนของเนื้อหาจริงๆ ในหน้า ตัวอย่างข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องมีดังนี้

  • การสตรีมการแข่งขันกีฬาแบบสดที่ติดป้ายกำกับการถ่ายทอดสดว่าเป็นกิจกรรมในท้องถิ่น
  • เว็บไซต์เกี่ยวกับงานไม้ที่ติดป้ายกำกับวิธีการว่าเป็นสูตรอาหาร

ความสมบูรณ์

  • ระบุพร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็นทั้งหมดซึ่งอยู่ในเอกสารประกอบสำหรับประเภทผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียที่เจาะจง รายการที่มีพร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็นไม่ครบจะไม่มีสิทธิ์แสดงในผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดีย
  • ยิ่งคุณเพิ่มพร็อพเพอร์ตี้ที่แนะนำเยอะขึ้น ผลการค้นหาสำหรับผู้ใช้ก็จะมีคุณภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ชอบประกาศรับสมัครงานที่มีการระบุเงินเดือนอย่างชัดเจนมากกว่ารายการที่ไม่ระบุ ผู้ใช้ต้องการดูสูตรอาหารที่มีรีวิวจากผู้ใช้จริงและการให้ดาวตามความเป็นจริง (โปรดทราบว่ารีวิวหรือการให้คะแนนที่ไม่ได้มาจากผู้ใช้จริงอาจส่งผลให้มีการดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่) การจัดอันดับของผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียจะนำข้อมูลเพิ่มเติมมาพิจารณาด้วย

ตำแหน่ง

  • วาง Structured Data ในหน้าที่พูดถึงข้อมูลดังกล่าว นอกเสียจากว่าเอกสารจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
  • หากคุณมีหน้าเว็บที่ซ้ำกันสำหรับเนื้อหาเดียวกัน เราขอแนะนำให้วาง Structured Data ที่เหมือนกันลงในหน้าที่ซ้ำกันทั้งหมด ไม่ใช่แค่ในหน้า Canonical

ลักษณะเฉพาะ

รูปภาพ

  • เมื่อระบุรูปภาพเป็นพร็อพเพอร์ตี้ Structured Data โปรดตรวจสอบว่ารูปภาพเกี่ยวข้องกับหน้าดังกล่าว เช่น หากคุณกำหนดพร็อพเพอร์ตี้ image ของ NewsArticle รูปภาพต้องเกี่ยวข้องกับบทความข่าวนั้น
  • ระบบต้องสามารถทำการ Crawl และจัดทําดัชนี URL รูปภาพทั้งหมดที่ระบุใน Structured Data ได้ มิเช่นนั้นแล้ว Google Search จะค้นหาและแสดงรายการเหล่านั้นในหน้าผลการค้นหาไม่ได้ หากต้องการตรวจสอบว่า Google เข้าถึง URL ได้หรือไม่ ให้ใช้เครื่องมือตรวจสอบ URL

หลายรายการในหน้าเดียว

หลายรายการในหน้าเดียวหมายความว่าในหน้าหนึ่งมีเนื้อหามากกว่า 1 ประเภท เช่น หน้าหนึ่งอาจมีสูตรอาหาร วิดีโอแสดงวิธีทำตามสูตรดังกล่าว และข้อมูลเบรดครัมบ์ของวิธีค้นพบสูตรนั้น นอกจากนี้ คุณอาจมาร์กอัปข้อมูลที่ผู้ใช้มองเห็นได้ทั้งหมดนี้ด้วย Structured Data ซึ่งช่วยให้เครื่องมือค้นหาอย่างเช่น Google Search เข้าใจข้อมูลในหน้าได้ง่ายขึ้น เมื่อคุณเพิ่มรายการอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหน้า Google Search จะมองเห็นภาพรวมได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นว่าหน้าดังกล่าวเกี่ยวกับอะไรและแสดงหน้านั้นในฟีเจอร์การค้นหาต่างๆ ได้

ผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียของสูตรอาหารซึ่งแสดงทั้งวิดีโอและรีวิว

Google Search เข้าใจหลายรายการในหน้าเดียว ไม่ว่าคุณจะฝังรายการเหล่านั้นไว้หรือระบุแต่ละรายการแยกกัน

  • การฝัง: เมื่อมีรายการหลัก 1 รายการ และรายการอื่นๆ รวมกลุ่มกันอยู่ภายใต้รายการหลักนั้น วิธีนี้มีประโยชน์เป็นพิเศษเวลาจัดกลุ่มรายการที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน (เช่น สูตรอาหารที่มีวิดีโอและรีวิว)
  • รายการเดี่ยว: เมื่อแต่ละรายการเป็นบล็อกแยกกันในหน้าเดียวกัน

เราจะตัดตัวอย่างเหล่านี้เพื่อให้สั้นกระชับ และตัวอย่างเหล่านี้ไม่ได้แสดงพร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็นและแนะนำทั้งหมดสำหรับฟีเจอร์ ดูตัวอย่างที่สมบูรณ์ได้จากเอกสารประกอบเฉพาะของ Structured Data แต่ละประเภท

การฝัง

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง Structured Data ที่มีการฝัง โดยที่ Recipe เป็นรายการหลัก ส่วน aggregateRating และ video ฝังอยู่ใน Recipe

<html>
  <head>
    <title>How To Make Banana Bread</title>
    <script type="application/ld+json">
    {
      "@context": "https://schema.org/",
      "@type": "Recipe",
      "name": "Banana Bread Recipe",
      "description": "The best banana bread recipe you'll ever find! Learn how to use up all those extra bananas.",
      "aggregateRating": {
        "@type": "AggregateRating",
        "ratingValue": "4.7",
        "ratingCount": "123"
      },
      "video": {
        "@type": "VideoObject",
        "name": "How To Make Banana Bread",
        "description": "This is how you make banana bread, in 5 easy steps.",
        "contentUrl": "https://www.example.com/video123.mp4"
       }
    }
    </script>
  </head>
  <body>
  </body>
</html>

รายการเดี่ยว

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างรายการเดี่ยวของ Structured Data โดยมีรายการที่แยกกัน 2 รายการ ได้แก่ Recipe และ BreadcrumbList

<html>
  <head>
    <title>How To Make Banana Bread</title>
    <script type="application/ld+json">
    [{
      "@context": "https://schema.org/",
      "@type": "Recipe",
      "name": "Banana Bread Recipe",
      "description": "The best banana bread recipe you'll ever find! Learn how to use up all those extra bananas."
    },
    {
      "@context": "https://schema.org",
      "@type": "BreadcrumbList",
      "itemListElement": [{
        "@type": "ListItem",
        "position": 1,
        "name": "Recipes",
        "item": "https://example.com/recipes"
      },{
        "@type": "ListItem",
        "position": 2,
        "name": "Bread recipes",
        "item": "https://example.com/recipes/bread-recipes"
      },{
        "@type": "ListItem",
        "position": 3,
        "name": "How To Make Banana Bread"
      }]
    }]
    </script>
  </head>
  <body>
  </body>
</html>

เคล็ดลับเพิ่มเติม

  • เพื่อให้ Google Search เข้าใจวัตถุประสงค์หลักของหน้าเว็บ ให้ระบุประเภท Structured Data หลักที่ตรงกับวัตถุประสงค์หลักของหน้า เช่น หากหน้าเว็บเกี่ยวกับสูตรอาหารเป็นหลัก อย่าลืมใส่ Structured Data Recipe เพิ่มเติมจาก Structured Data Video และ Review ซึ่งเป็นโอกาสให้หน้ามีสิทธิ์ที่จะปรากฏในการค้นหาแบบหลายลักษณะ (ผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียของสูตรอาหาร การค้นหาวิดีโอ และตัวอย่างรีวิว) หากหน้ามีเฉพาะ Structured Data ของวิดีโอก็จะทำให้ Google Search ทราบข้อมูลหน้าเว็บไม่เพียงพอที่จะแสดงเป็นผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียของสูตรอาหารด้วย
  • โปรดตรวจดูว่ารายการ Structured Data ทั้งหมดนั้นครบถ้วนเพื่อให้หน้าเว็บแสดงเนื้อหาที่ผู้ใช้มองเห็นได้อย่างสมบูรณ์ เช่น หากคุณใส่รีวิวหลายรายการ ให้ตรวจดูว่าได้ใส่รีวิวทั้งหมดที่ผู้ใช้มองเห็นได้ในหน้านั้น หากหน้าเว็บไม่ได้มาร์กอัปรีวิวทั้งหมดในหน้า อาจทำให้ผู้ใช้เข้าใจผิดและคาดหวังว่าจะได้เห็นรีวิวเหล่านั้นทั้งหมดโดยอิงตามลักษณะของหน้าเว็บที่ปรากฏในผลการค้นหา Search