ทำความเข้าใจวิธีการทำงานของข้อมูลที่มีโครงสร้าง
Google Search ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาในหน้า คุณช่วยให้ Google เข้าใจได้ด้วยการใส่ข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของหน้าผ่านการรวมข้อมูลที่มีโครงสร้างในหน้า ข้อมูลที่มีโครงสร้างคือรูปแบบมาตรฐานในการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหน้าและจำแนกประเภทเนื้อหาของหน้า เช่น การแจ้งส่วนผสม เวลาและอุณหภูมิที่ใช้ปรุงอาหาร จำนวนแคลอรี ฯลฯ ในหน้าสูตรอาหาร
Google ใช้ข้อมูลที่มีโครงสร้างซึ่งพบในเว็บเพื่อทำความเข้าใจเนื้อหาในหน้า อีกทั้งเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเว็บและข้อมูลโดยทั่วไปในโลกใบนี้ด้วย ตัวอย่างเช่น นี่คือตัวอย่างข้อมูลที่มีโครงสร้าง JSON-LD ที่อาจปรากฏในหน้าสูตรอาหารซึ่งอธิบายเกี่ยวกับชื่อสูตร ผู้เขียนสูตร และรายละเอียดอื่นๆ
<html> <head> <title>Party Coffee Cake</title> <script type="application/ld+json"> { "@context": "https://schema.org/", "@type": "Recipe", "name": "Party Coffee Cake", "author": { "@type": "Person", "name": "Mary Stone" }, "datePublished": "2018-03-10", "description": "This coffee cake is awesome and perfect for parties.", "prepTime": "PT20M" } </script> </head> <body> <h2>Party coffee cake recipe</h2> <p> <i>by Mary Stone, 2018-03-10</i> </p> <p> This coffee cake is awesome and perfect for parties. </p> <p> Preparation time: 20 minutes </p> </body> </html>
นอกจากนี้ Google Search ยังใช้ข้อมูลที่มีโครงสร้างเพื่อเปิดใช้ฟีเจอร์และการเพิ่มประสิทธิภาพพิเศษสำหรับผลการค้นหาอีกด้วย เช่น หน้าสูตรอาหารที่มีข้อมูลที่มีโครงสร้างที่ถูกต้องจะมีสิทธิ์ปรากฏในผลการค้นหาแบบมีรูปภาพดังที่แสดงด้านล่างนี้
ลักษณะที่ปรากฏในการค้นหา

ข้อมูลที่มีโครงสร้าง
<html> <head> <title>Apple Pie by Grandma</title> <script type="application/ld+json"> { "@context": "https://schema.org/", "@type": "Recipe", "name": "Apple Pie by Grandma", "author": "Elaine Smith", "image": "https://images.edge-generalmills.com/56459281-6fe6-4d9d-984f-385c9488d824.jpg", "description": "A classic apple pie.", "aggregateRating": { "@type": "AggregateRating", "ratingValue": "4.8", "reviewCount": "7462", "bestRating": "5", "worstRating": "1" }, "prepTime": "PT30M", "totalTime": "PT1H30M", "recipeYield": "8", "nutrition": { "@type": "NutritionInformation", "calories": "512 calories" }, "recipeIngredient": [ "1 box refrigerated pie crusts, softened as directed on box", "6 cups thinly sliced, peeled apples (6 medium)" ] } </script> </head> <body> </body> </html>
เนื่องจากข้อมูลที่มีโครงสร้างจะติดป้ายกำกับแต่ละเอลิเมนต์ของสูตรอาหาร ผู้ใช้จึงค้นหาสูตรอาหารตามส่วนผสม จำนวนแคลอรี เวลาที่ใช้ปรุง และอื่นๆ ได้
ข้อมูลที่มีโครงสร้างจะเขียนโค้ดโดยใช้มาร์กอัปในหน้าเว็บอยู่ในหน้าที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลที่มีโครงสร้างในหน้าจะอธิบายเนื้อหาของหน้านั้นๆ อย่าสร้างหน้าว่างเปล่าไว้ใส่ข้อมูลที่มีโครงสร้างโดยเฉพาะ และอย่าเพิ่มข้อมูลที่มีโครงสร้างเกี่ยวกับข้อมูลที่ผู้ใช้มองไม่เห็น แม้ว่าข้อมูลนั้นจะถูกต้องก็ตาม หากต้องการทราบหลักเกณฑ์ด้านเทคนิคและหลักเกณฑ์ด้านคุณภาพ ให้ดูหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับข้อมูลที่มีโครงสร้าง
การทดสอบผลการค้นหาที่เป็นริชมีเดียเป็นเครื่องมือที่ใช้งานง่ายและมีประโยชน์ซึ่งมีไว้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่มีโครงสร้าง และในบางกรณีก็ไว้แสดงตัวอย่างฟีเจอร์ใน Google Search ลองใช้เลย
รูปแบบข้อมูลที่มีโครงสร้าง
เอกสารประกอบนี้จะอธิบายพร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็น พร็อพเพอร์ตี้ที่แนะนำ หรือพร็อพเพอร์ตี้ที่ไม่บังคับสำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้าง ซึ่งมีความหมายพิเศษต่อ Google Search ข้อมูลที่มีโครงสร้างส่วนใหญ่ของ Search จะใช้คำศัพท์ของ schema.org แต่คุณควรใช้เอกสารประกอบของ Google Search Central เป็นรายการที่สมบูรณ์ที่สุดสำหรับการทำงานของ Google Search ไม่ใช่เอกสารประกอบของ schema.org นอกจากนี้ ยังมีแอตทริบิวต์และออบเจ็กต์เพิ่มเติมใน schema.org ที่ Google Search ไม่ได้บังคับ แต่อาจเป็นประโยชน์ต่อบริการ เครื่องมือ และแพลตฟอร์มอื่นๆ
อย่าลืมทดสอบข้อมูลที่มีโครงสร้างโดยใช้การทดสอบผลการค้นหาที่เป็นสื่อสมบูรณ์ระหว่างการพัฒนา และรายงานสถานะผลการค้นหาที่เป็นสื่อสมบูรณ์หลังจากที่ทำให้ใช้งานได้แล้ว เพื่อเป็นการตรวจสอบคุณภาพของหน้า ซึ่งอาจมีปัญหาหลังจากที่ทำให้ใช้งานได้แล้วโดยมีสาเหตุจากปัญหาการจัดเทมเพลตหรือการแสดงผล
คุณต้องรวมพร็อพเพอร์ตี้ที่จำเป็นทั้งหมดสำหรับออบเจ็กต์หนึ่งๆ จึงจะมีสิทธิ์แสดงใน Google Search ที่มีการแสดงที่เพิ่มประสิทธิภาพ โดยทั่วไปแล้ว การกำหนดฟีเจอร์ที่แนะนำในจำนวนมากขึ้นจะทำให้ข้อมูลของคุณมีโอกาสมากขึ้นที่จะปรากฏในผลการค้นหาของ Search ที่มีการแสดงที่เพิ่มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราให้ความสำคัญมากกว่าก็คือการใส่พร็อพเพอร์ตี้ที่แนะนำในจำนวนไม่มาก แต่ข้อมูลมีความสมบูรณ์และถูกต้อง แทนที่จะพยายามใส่พร็อพเพอร์ตี้ให้ได้เยอะที่สุด แต่ข้อมูลไม่สมบูรณ์ มีรูปแบบที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ถูกต้อง
นอกเหนือจากพร็อพเพอร์ตี้และออบเจ็กต์ที่ระบุอยู่ตรงนี้แล้ว โดยทั่วไป Google ยังใช้ประโยชน์จากพร็อพเพอร์ตี้ sameAs
และข้อมูลที่มีโครงสร้างอื่นๆ ของ schema.org ได้อีกด้วย เอลิเมนต์บางรายการอาจนำไปใช้ในการเปิดใช้ฟีเจอร์ Search ในอนาคตได้หากเราเห็นว่ามีประโยชน์
Google Search รองรับข้อมูลที่มีโครงสร้างในรูปแบบต่อไปนี้ เว้นแต่ว่าจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น
รูปแบบ | |
---|---|
JSON-LD* (แนะนำ) | คำอธิบาย JavaScript ที่ฝังอยู่ในแท็ก <script> ในส่วนหัวหรือเนื้อหาของหน้า มาร์กอัปนี้ไม่ได้แทรกด้วยข้อความที่ผู้ใช้เห็น ซึ่งทำให้แสดงรายการข้อมูลที่ฝังได้ง่ายขึ้น เช่น Country ของ PostalAddress ของ MusicVenue ของ Event
นอกจากนี้ Google ยังอ่านข้อมูล JSON-LD ที่แทรกแบบไดนามิกลงในเนื้อหาของหน้าได้ด้วย เช่น แทรกโดยโค้ด JavaScript หรือวิดเจ็ตที่ฝังในระบบจัดการเนื้อหา |
Microdata | การกำหนด HTML ของชุมชนแบบเปิดที่ใช้ในการฝังข้อมูลที่มีโครงสร้างในเนื้อหา HTML Microdata จะใช้แอตทริบิวต์แท็ก HTML เพื่อกำหนดพร็อพเพอร์ตี้ที่คุณต้องการแสดงเป็นข้อมูลที่มีโครงสร้าง เช่นเดียวกับ RDFa ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้ส่วนเนื้อหาของหน้า แต่จะใช้ในส่วนหัวก็ได้ |
RDFa | ส่วนขยาย HTML5 ที่รองรับข้อมูลที่ลิงก์โดยเริ่มใช้แอตทริบิวต์แท็ก HTML ซึ่งสอดคล้องกับเนื้อหาที่ผู้ใช้เห็นที่คุณต้องการอธิบายสำหรับเครื่องมือค้นหา RDFa มักจะใช้ในส่วนหัวและเนื้อหาของหน้า HTML |
หลักเกณฑ์ของข้อมูลที่มีโครงสร้าง
อย่าลืมปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของข้อมูลที่มีโครงสร้าง รวมไปถึงหลักเกณฑ์เฉพาะของประเภทข้อมูลที่มีโครงสร้างของคุณ มิฉะนั้นข้อมูลที่มีโครงสร้างอาจไม่มีสิทธิ์แสดงเป็นผลการค้นหาที่เป็นสื่อสมบูรณ์ใน Google Search
เริ่มต้นใช้งานข้อมูลที่มีโครงสร้าง
หากคุณเพิ่งใช้ข้อมูลที่มีโครงสร้างเป็นครั้งแรก โปรดดูคู่มือสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานข้อมูลที่มีโครงสร้างของ schema.org แม้ว่าคู่มือจะมุ่งเน้นที่ Microdata แต่ข้อมูลเบื้องต้นจะเกี่ยวข้องกับ JSON-LD และ RDFa ดูคำแนะนำทีละขั้นตอนเกี่ยวกับวิธีเพิ่มข้อมูลที่มีโครงสร้างลงในหน้าเว็บได้ใน Codelab สำหรับข้อมูลที่มีโครงสร้าง
เมื่อคุณมั่นใจเกี่ยวกับพื้นฐานของข้อมูลที่มีโครงสร้างแล้ว ลองสำรวจแกลเลอรีการค้นหา แล้วเลือกฟีเจอร์ที่จะนำมาใช้งาน แต่ละคู่มือจะอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีนำข้อมูลที่มีโครงสร้างมาใช้งานในลักษณะที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณมีสิทธิ์ปรากฏเป็นผลการค้นหาที่เป็นสื่อสมบูรณ์ใน Google Search